thaimed.care

ร่วมกันพัฒนา มาตรฐานการแพทย์แผนไทย

เพื่อ ดูแลคน ดูแลโลก

Thaimed.care เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ของ สภาการแพทย์แผนไทย ในการยกระดับมาตรฐาน

การแพทย์แผนไทยให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ดูแลคน ดูแลโลกที่ดีขึ้น จากการรวมตัวกันของ “กลุ่มผู้ตรวจมาตรฐาน

การแพทย์แผนไทย” ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจมาตรฐานการแพทย์แผนไทย ซึ่งคณะกรรมการสภาการแพทย์แผน

ไทย ได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบรับรองหลักสูตรผู้ตรวจมาตรฐานการแพทย์แผนไทยและหลักสูตรแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐาน

การแพทย์แผนไทยด้านการบริการดูแลสุขภาพ ในการประชุมคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ วันศุกร์ที่ ๑๐ 

มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมไพรพฤกษ์ อาคาร ๑ ชั้น ๒ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์

ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และรับรองรายงานการประชุมแล้วในการประชุมคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ ๕/

๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖ โดยร่วมกันขับเคลื่อนงานภายใต้ความร่วมมือดำเนินการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนา

เศรษฐกิจด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยระหว่างสภาการแพทย์แผนไทยกับมูลนิธิรวมพัฒน์ซึ่งได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ให้ความ

ร่วมมือดำเนินการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยกับมูลนิธิรวมพัฒน์ ในการประชุม

คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง

ประชุมสำนักงานสภาการแพทย์แผนไทย อาคาร ๑ ชั้น ๔ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

และรับรองรายงานการประชุมแล้วในการประชุมคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ 

๒๕๖๖

ด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ “รัฐต้องดําเนินการ

ให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริม

สุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด” พร้อม

กับความตาม วรรคสาม บัญญัติให้ “รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ประกอบกับ พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้ สภาการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์ที่

เกี่ยวข้อง ดังนี้

ตามมาตรา ๘ (๑) “ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบ

วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์” 

ตาม มาตรา ๘ (๒) “ควบคุม กำกับ ดูแล และกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์”

ตาม มาตรา ๘ (๔) “ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์

แผนไทย”

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ กำหนดให้ สภาการแพทย์แผนไทย มีอำนาจหน้าที่ 

ตามมาตรา ๙ (๙) “บริหารกิจการใดๆ ตามวัตถุประสงค์ และอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนกิจการใดๆ ของสภา

การแพทย์แผนไทย”

โดย พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๓ ได้กำหนดนิยามความหมายของคำศัพท์ที่

เกี่ยวข้องกับ “การแพทย์แผนไทย” ไว้ ดังนี้

“การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือมุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ 

เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ 

โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้าน

อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนา

สืบต่อกันมา ตามตําราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง

“กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กรรมวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย ที่สภาการแพทย์แผนไทย

กําหนดหรือรับรอง แล้วแต่กรณี

“การแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บําบัด รักษา หรือป้องกัน

โรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผน

ไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตําราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา

นอกจากนี้พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓ ได้กำหนดนิยามความหมายของคำศัพท์ที่

เกี่ยวข้องกับ “มาตรฐาน” ไว้ ดังนี้

“มาตรฐาน” หมายความวา ขอกําหนดอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางซึ่งเกี่ยวกับสิ่งตางๆ ดังตอไปนี้ 

(๑) ผลิตภัณฑ วิธีการ กระบวนการผลิต สวนประกอบ โครงสราง มิติขนาด แบบ รูปราง น้ำหนัก ประสิทธิภาพ

สมรรถนะ ความทนทาน หรือความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ

(๒) หีบหอ การบรรจุหีบหอ การทําเครื่องหมาย หรือฉลาก 

(๓) วิธีการ กระบวนการ คุณลักษณะ ประสิทธิภาพ หรือสมรรถนะ ที่เกี่ยวของกับการบริการ 

(๔) ระบบการบริหารหรือการจัดการเกี่ยวกับคุณภาพ สุขอนามัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดลอม ความปลอดภัย หรือระบบ

อื่นใด 

(๕) นิยาม แนวทาง ขอแนะนํา หนวยวัด การทดสอบ การสอบเทียบ การทดลอง การวิเคราะห การวิจัย การตรวจ การ

รับรอง การตรวจประเมิน ที่เกี่ยวกับ (๑) (๒) (๓) (๔) หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับการมาตรฐาน 

“การมาตรฐาน” หมายความวา กระบวนการที่ใชในการดําเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐาน การตรวจสอบ

และรับรอง และมาตรวิทยา 

“การตรวจสอบและรับรอง” หมายความวา กระบวนการที่ใชในการดําเนินการไมวาจะเปน การใหบริการทดสอบ สอบ

เทียบ ตรวจ หรือรับรองดานการมาตรฐาน เพื่อแสดงใหเห็นวาผลิตภัณฑ บริการ กระบวนการ ระบบการบริหารหรือการจัดการ 

บุคลากร องคกร หรือกิจกรรมอื่นๆ มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กําหนดไว

“ผูประกอบการตรวจสอบและรับรอง” หมายความวา บุคคลหรือหนวยงานที่ใหบริการการตรวจสอบและรับรอง

ทั้งนี้ “การพัฒนามาตรฐานการแพทย์แผนไทย” จึงเป็น การพัฒนาข้อกำหนดซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการที่จะใช้ในการ

ดำเนินงานทั้งปวงที่กระทําหรือมุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ให้มีคุณภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสุขภาพของคนและ

สุขภาพของโลกที่ดีขึ้น เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของพวกเราสืบไป